ร่างภาพเหมือนบนกระดาษสีเทาเขาทำยังไง...มือใหม่ลองไปดู

ร่างภาพเหมือนบนกระดาษสีเทาเขาทำยังไง...มือใหม่ลองไปดู

สำหรับการร่างภาพเหมือนบนกระดาษสีเทานั้น ผู้เขียนใช้วิธีเดียวกันเลยกับการร่างภาพบนกระดาษขาวทั่วไป เนื่องจากว่ายังเป็นมือใหม่อยู่นั่นเอง ก็เลยต้องใช้วิธีนี้ ไม่ว่าจะร่างลงบนกระดาษสีไหนๆ ถ้าเป็นการทำงานวาดให้คนอื่น ก็มักจะร่างภาพด้วยการตีตารางทุกครั้ง เพราะมันทำให้ได้ภาพร่างที่ดูสมบูรณ์มากกว่าหากวาดเล่นๆ กันเอง ก็ค่อยฝึกร่างแบบสดๆ เลย คิดซะว่าฝึกในยามว่างก็แล้วกันนะ

ลองร่างภาพเหมือนในกระดาษสีเทา

อันดับแรกก็ลองๆ หารูปต้นแบบที่เราจะนำมาฝึกร่างภาพกันนะครับ จากนั้นให้นำไปถ่ายเอกสารจะเป็นขาวดำหรือว่าสีก็ได้ แต่จากตัวอย่างผมยังไม่ได้ถ่ายเอกสารมานะครับใช้รูปต้นฉบับเลย เดี๋ยวเอายางลบออกทีหลังน่าจะได้ แต่ผมไม่แนะนำให้ทำแบบนี้นะให้ไปถ่ายเอกสารมาจะดีกว่า เดี๋ยวรูปต้นฉบับบจะพังได้ไม่รู้ด้วยล่ะ
ขั้นตอนการร่างภาพเหมือน

พื้นฐานการร่างภาพ

จากนั้นก็ทำตารางในรูปต้นแบบที่เราถ่ายเอกสารมาแล้ว จากรูปตัวอย่างกำหนดความกว้างแต่ละช่องตารางอยู่ที่ 1 ซม. ทุกช่องทั้งแนวตั้งและแนวนอน

สอนร่างภาพเหมือน

จากนั้นก็มาทำตารางในกระดาษวาดรูป (กระดาษสีเทา) ที่เราเตรียมไว้แล้วจะเอาขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบเลย หรือจะใหญ่กว่าก็ได้ จากตัวอย่างผมต้องการที่จะให้ภาพร่างนี้ขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่มความกว้างของแต่ละช่องในตารางเป็น 2 ซม. ส่วนใครจะร่างภาพให้ใหญ่ขึ้นกว่านี้ก็ได้นะ เพียงขยายความกว้างแต่ละช่องให้กว้างเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง

เรียนวาดภาพเหมือน

ลงมือร่างภาพเหมือนได้แล้วโดยทำเส้นรอบนอกก่อน สังเกตุจากรูปต้นแบบเป็นหลักนะ ว่าควรจะร่างไปในทิศทางไหนผ่านช่องไหน ผ่านเส้นไหนของตาราง

วาดภาพเหมือนด้วยกระดาษสีเทา

สอนวาดรูคนเหมือนจริง

ค่อยๆ ร่างไปทีละนิดทีละหน่อย ในระหว่างร่่างเส้นนั้นให้หมั่นสังเกตุดูสัดส่วนไปด้วยล่ะว่า จุดที่เราจะร่างอยู่นั้นมันอยู่ตำแหน่งไหน ให้เปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนอื่นไปด้วย จุดสังเกตุอย่างเช่น ขอบตาดำใช้เป็นหลักในการร่างเส้นตรงปากได้ ลองสังเกตุดูว่าเส้นขอบตาดำด้านขวาจากรูปตัวอย่างนี้ ถ้าร่างเส้นลงมาจะตรงกับมุมปากขวาพอดี ดังนั้นก่อนจะเขียนเส้นตรงมุมปากขวา ก็ให้เทียบดูกับขอบตาดำที่ร่างไปก่อนปากแล้วนั้น ให้มันตรงกันตามรูปต้นแบบด้วย ยังมีอีกหลายๆจุดที่เราสามารถใช้เป็นจุดเทียบกันแล้วค่อยร่างอีกในจุดอื่น ลองๆสังเกตุดูเคยแนะนำไปแล้ว

มือใหม่หัดวาดภาพเหมือน


เมื่อได้เส้นรอบนอกครบแล้วจากนั้นร่างเส้นหู ตา จมูกปาก และเส้นรายละเอียดจุดต่างๆ ที่ต้องการให้ภาพร่างเราสมบูรณ์มากที่สุด

วิธีวาดภาพเหมือน

ขั้นตอนการวาดรูปคนเหมือน

ขั้นตอนสุดท้ายก็เอาดินสอเน้นเส้นหลักๆ ในขั้นตอนอาจจะตกแต่งดัดแปลงบางเส้นได้เลยเพื่อ ให้มันโค้งมันเว้าตามต้นแบบให้มากที่สุด หากเน้นเส้นหลักๆ ได้ถูกต้องครบแล้วก็เอายางลบๆ เส้นที่ไม่ได้ใช้ออก

สอนร่างภาพใบหน้าคน

ก็จะได้ภาพร่างที่สมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นจะเอาไปลงสีหรือจะแรเงาเป็นภาพขาวดำเลยก็ย่อมได้ 

ร่างภาพด้วยตารางง่ายๆ

จากตัวอย่างผมแรเงาเป็นภาพขาวดำเลย โดยใช้ดินสอ EE ทำในจุดที่เป็นเงาดำ และใช้ดินสอขาวทำในจุดที่เป็นสีขาวและจุดที่โดนแสง แต่ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่นะทำเป็นตัวอย่างเฉยๆ หรือจะดูอื่นๆ เพิ่มเติมได้ หัดร่างภาพเหมือน 

สอนระบายสีไม้กับภาพเหมือน ทีละขั้นตอนอย่างละเอียด

สอนระบายสีไม้กับภาพเหมือน ทีละขั้นตอนอย่างละเอียด

จากที่เคยฝึกวาดขาวดำกันมาแล้ว หลายๆ คนก็คงจะชำนาญในการวาดภาพเหมือนแบบขาวดำกันบ้างแล้ว ชำนาญในการแรเงาแบบขาวดำสมจริงก็ฝึกมาแล้ว วันนี้เราลองมาฝึกระบายสีไม้กับภาพเหมือนกันดีกว่า โดยมาฝึกระบายสีไม้กับใบหูกันดูก่อน หากผ่านไปได้ดีแล้ว ต้องการที่จะระบายสีไม้กับภาพเหมือน ในส่วนอวัยวะอื่นๆ ต่อก็คงไม่ใช่เรื่องยาก อุปกรณหลักๆ ที่ใช้ดังนี้

ขั้นตอนการระบายสีไม้อย่างละเอียด

  • สีไม้ยี่ห้อไหนก็ได้
  • กระดานรองเขียนมีทุกคนอยู่แล้ว
  • กระดาษวาดภาพ ในตัวอย่างใช้กระดาษผิวหยาบ
  • ยางลบอาจจำเป็นได้ลบ 

ขั้นตอนการระบายสีไม้กับภาพเหมือน ตอน ระบายสีไม้ตรงใบหู

  • ใช้สีส้มอ่อนหรือสีที่คล้ายๆ สีผิวคนร่างภาพขึ้นมา
  • จากนั้นใช้สีฟ้าอ่อนระบายบางๆ ในจุดที่มองเห็นว่าเป็นเงาทั้งภาพเลย
  • สีเขียวอ่อนระบายแทรกเข้าไปผสมผสานกับสีฟ้าที่ระบายไปก่อนแล้ว
  • สีชมพูระบายบางๆ ทั้งหมดเลยยกเว้นจุดที่โดนแสง ในขั้นตอนการระบายทุกสีต้องดูจากต้นแบบเป็นหลัง เน้นให้ทุกส่วนดูโค้งภาพวาดเราจะได้ดูมีมิติสมจริง จะได้ไม่ดูแบนๆ
  • ตามด้วยสีส้มเหลืองระบายผสมลงไปกับสีชมพูเว้นจุดที่โดนแสงเหมือนกัน
  • สีส้มแดงระบายแทรกเข้าไปในจุดที่เป็นเงา ในจุดที่เป็นรู ร่อง ลึก เพื่อให้ดูเหมือนมีเลือดมียาง และเว้นจุดที่เป็นแสง 
  • สีแดงระบายเน้นจุดที่เป็นร่อง รู ลึก และเงา
  • สีน้ำตาลเหลืองระบายเคลือบทั้งภาพเลย ยกเว้นจุดที่เป็นแสง
  • สีน้ำตาลแดง ระบายเน้นจุดที่เป็นเงา รู เน้นเส้นขอบต่างๆ ให้คมชัด
  • ขึ้นต้นจากสีฟ้าตบท้ายด้วยสีฟ้าอีก ระบายบางๆ ทั้งภาพเลยเว้นจุดโดนแสงเอาไว้
  • เสร็จสิ้นการระบายสีไม้กับภาพเหมือน ตอนระบายสีใบหู จากนั้นเติมแต่งในส่วนอื่นๆ ของภาพก็แล้วแต่ตามสะดวกของแต่ละคน

ลิ้งค์ต้นฉบับบจากยูทูป  สอนระบายสีไม้กับภาพเหมือน

เทคนิคการระบายสีไม้กับภาพเหมือน

เป็นการแนะนำการะบายสีไม้แบบง่ายๆ ในแบบที่ผู้เขียนเองก็ระบายตามขั้นตอนนี้เหมือนกัน หวังว่าพอเป็นแนวทางในการฝึกวาดภาพเหมือนสำหรับมือใหม่ ขั้นตอนอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดผู้ฝึกอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในแบบของตนตามที่ถนัดของแต่ละคน ไม่แน่เราอาจจะพบเทคนิคในการวาดภาพเหมือน เทคนิคในการระบายสีไม้ เป็นเทคนิคของตนเองก็เป็นได้ แนะนำว่าให้ทำงานในแบบที่ตนเองเองถนัดและชอบจะดีที่สุด ซึ่งอาจจะดีกว่าทำตามขั้นตอนจากผู้เขียนซะทั้งหมดก็เป็นได้

วาดภาพเหมือนขาวดำด้วยเทคนิคง่ายๆ จากกระดาษปฏิทิน สีไม้แท่งดำ ดินสอขาว และพู่กันจีน

วาดภาพเหมือนขาวดำด้วยเทคนิคง่ายๆ จากกระดาษปฏิทิน สีไม้แท่งดำ ดินสอขาว และพู่กันจีน


ภาพเหมือนขาวดำดูยังไงก็คลาสสิค จากตัวอย่างในยูทูปนี้เป็นการวาดขาวดำด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ดังนี้คือ
  • สีไม้แท่งสีดำ
  • พู่กันจีน / พู่กันขนนุ่ม
  • ดินสอซอร์ค
  • กระดาษสีเทา
ขั้นตอนการวาดภาพเหมือนด้วยสีไม้อย่างละเอียด

สีไม้แท่งดำหรือดินสอสี เลือกสีดำแท่งเดียว พู่กันจีนอันนี้หากหาไม่ได้ก็ใช้พู่กันที่ปลายนุ่มๆ ก็ใช้ได้ดีไม่ต่างกันเลย ดินสอซอร์คหรือจะเรียกดินสอขาว อันนี้ต้องหาซื้อตามร้านเครื่องเขียนใหญ่ๆ มีแน่นอน กระดาษสีเทาจะเป็นกระดาษที่ใช้วาดกับสีซอร์คเลยก็ได้ แต่จากตัวอย่างใช้กระดาษจากปฏิทินเก่าไม่ใช้แล้ว ด้านหลังกระดาษจะมีสีเทานำมาใช้ฝึกวาดได้เช่นกัน "ประหยัดดี" แฮ่ๆ

ขั้นตอนการวาดภาพเหมือนขาวดำด้วยกระดาษสีเทา

  • ใช้ดินสอขาวแรเงาในจุดที่เป็นสีขาวหรือจุดที่โดนแสง แรเงาเบาไปก่อนอย่าพึ่งกดแรงมากนัก
  • จุดไหนที่เป็นสีดำหรือเป็นบริเวณของเงา ให้ใช้สีไม้สีดำลงไปได้เลย
  • ส่วนพูกันจีนหรือพู่กันขนนุ่ม ใช้เกลี่ยสีดำชองสีไม้เวลาแรเงาเสร็จให้ดูเรียบเนียน
  • ในจุดที่เป็นขนหรือเส้นผม ใช้สีไม้สีดำแท่งเดิมหากต้องการเส้นเล็กคม ก็เพียงเหล่าให้แหลมๆ แล้วเขียนในลักษณะตวัดข้อไวๆ ให้รู้สึกว่าปลายเส้นขนต้องเรียวแหลม 


ทำไมต้องใช้กระดาษสีเทาฝึกวาดขาวดำ

  • เพราะฝึกวาดภาพเหมือนขาวดำด้วยกระดาษสีเทา ง่าย ไม่ยุ่งยากหลายขั้นตอน
  • เราแรเงาเพียงจุดที่เป็นแสงหรือขาว กับจุดที่เป็นเงาเท่านั้น จากที่เราเคยฝึกมาเบื้องต้นในกระดาษสีขาวปกติเราจะแรเงา 3 ระดับคือ ดำ > เทา > ขาว ยังจำกันได้ดีนะ
  • แต่ในการฝึกจากกระดาษสีเทา เราไม่ต้องทำน้ำกลางหรือสีเทาในภาพขาวดำ เนื่องจากกระดาาเราเป็นสีเทาอยู่แล้ว
  • ทำให้ประหยัดเวลาไปในตัวเลย ที่สำคัญงานวาดขาวดำของเราก็ออกมาดูดีไปอีกแบบเลยเชียวล่ะ